วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 3 ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา

บทที่3

ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา
       ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือ  แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ปรากฎการณ์เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสียหายมากมาย ผู้คนล้มตาย ความเสียหายด้านทรัพย์สิน  และการที่ผู้คนจำนวนมากไร้ที่ผู้อาศัย ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาครั้งใหญ่ที่ยังอยู่ในความทรงจำของเราคือ  การระเบิดของภูเขาไฟเวซูเวียส ได้ทำลายหลายชุมชนของอาณาจักรโรมัน คือ เมืองปอมเปอี เมืองเฮอร์คูลามุน และเมืองสตาเบีย หลังจากเหตุการณในอดีต ก็ยังคงมีปรกฎการณ์มางธรณีวิทยาเหล่านี้เกิดอีกหลายคั้ง  เช่น วันที่23 มิ.ย. 2544 การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.4 ริกเตอร์ ที่เป็นเทศเปรู เป็นต้น แผ่นดินไหวยังอาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดภัยพิบัติที่ร้ายแรงตามมาได้อีกด้วยเช่น สึนามิ ดินโคลนถล่ม และมลภาวะทางอากาศทั่วโลก
    
แผ่นดินไหว [Earthquake]
            แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ก่อให้เกืดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์ของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามศึกษากลไหของการเกิดแผ่นไหวและวางแผนหามาตราการป้องกันแลพลดความเสียหาย
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้อย่างไร
 ทฤษฎีการเกิดแผ่นดินไหวที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี ทฤษฎี คือ

          1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (dilation source theory) แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการเคลื่อที่กันในทิศทางตรงข้ามกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เปลือกโลกเกิดความเครียดสะสมมากขึ้น จนกระทั่งแรงที่มากระทำมีขนาดมากกว่าที่แผ่นดินจะต้นไว้ได้แผ่นดินจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในลักษณะยืด บิด โค้งงอ

          2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (elastic rebound theory) แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจาก การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (fault) ดังนั้น เมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่ว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการ กำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิดกับรอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (plate tectonics)
             แผ่นดินไหวเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้หินเปลี่ยนลักษณะ เลื่อนตัว แตกหัก และถ่ายโอนพลังงานอย่างรวดเร็วให้กับชั้นหินที่อยู่ติดกันในรูปของ คลื่อไหวสะเทือน (seismic wave) ซึ่งจะแผ่กระจายจากจุดกำเนิดไปทุกทิศทาง  และสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างๆภายในโลกขึ้นมาบนผิวโลก ตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดินหรือเกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus) ซึ่งเกิดได้หลายๆจุด ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ใต้ผิวโลกที่ระดับความลึกต่างๆกันบนตำแหน่งผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter)
              นอกจากจะเกิดเพราะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีแล้ว ยังมาสาเหตุอื่นๆ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟการเคลื่อนตัวของแมกมาใต้ผิวโลกสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นลาวาได้ และการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิกปรมาณูใต้ดิน

คลื่นไหวสะเทือน      
               เมื่อเกิดแผ่นดิน พลังงานที่ถูกปลอดปล่อยจะอยู่ในรูปของคลื่นไหวสะเทือน พลังงานท่ปลดปล่อยจะอยู่ในรูปของคลื่นไหวสะเทือน 2 ชนิด
            
             คลื่นในตัวกลาง เคลื่อนที่แผ่กระจายทุกทิศทุกทางจากศูนย์เกิดแผ่นไหว เดินทางอยู่ในตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

            คลื่น ปฐมภูมิ  เป็นคลื่นตามยาวของอนุภาค  เคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น มีความเร็วมากกว่ารคลื่นชนิดอื่น สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ของแข็ง ของเหลว และแก๊สได้


คลื่นทุติยภูมิ เป็นคลื่นตามขวาง เคลื่อนที่ผ่านจะเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็ง และ มีความเร็วน้อยกว่าคลื่นปฐมภูมิ



         คลื่นพื้นผิว (surface wavesเคลื่อนที่บนผิวโลกหรือใต้โลกเล็กน้อย และเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง มี2 ชนิด
        คลื่นเลิฟ (love wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบบริเวณใกล้กับผิวโลก  โดยมีทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สร้างความเสียกายให้กับรากฐานอาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ

       คลื่นเรย์ลี (Rayleigh wave) เป็นคลื่นที่มำให้อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในระนาบแนวดิ่งเป็นวงรีในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ทำให้พื้นผิวโลกมีการสั่นน้อยลง

อุปกรณ์การบันทึกของเครื่องวัดความไหวสะเทอน เรียกว่า การดาษบันทึกความไหวสะเทือน(seismogram) โดยอาศัยหลักการต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมวลลูกตุ้ม (ความเฉื่อย)โดยจะวัดทั้งแรงสั่นสะเทือนในแนวราบและแนวดิ่ง

แนวแผ่นดินไหว

        ตำแหน่งศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับแนวรอยต่อของแผ่นธรณี แนวรอยต่อที่สำคัญที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมีอยู่ 3 แนว คือ
           แนวรอยต่อที่เกิดจาการล้อมรอบมหาสุมทรแปซิฟิก  วงแหวนแห่งไฟ (The Ring of Fire)เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า อยู่บริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด แผ่นดินไหวประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่รุนแรง
       แนวรอยต่อของภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรปและภูเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย  เกิดแผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 15 แผ่นดินไหวระดับตื้นและปานกลาง
          แนวรอยต่อที่เหลืออีกร้อยละ 5  เกิดขึ้นในบริเวณแนวสันเขากลางมหาสุมทรต่างๆของโลก แผ่นดินไหวระดับตื้นและเกิดเป็นแนวแคบๆ



ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว
           ชาร์ล เอฟ  ริกเตอร์ เป็นแรกที่คิดค้นสูตรการวัดขนาดของแผ่นดินไหวเป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนโดยใช้หน่วย ริกเตอร์” (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่างๆ กันได้  น้อยกว่า 2 ริกเตอร์ เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก 6 ริกเตอร์ จัดเป็นแผ่นดินไหวรุนแรง



    มาตราเมอร์คัลลี   แผ่นดินไหวแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งไม่สามารถรู้สึกได้ แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง  ระบบวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ มาตราเมอร์คัลลี (Mercalli scale) 

ประเทศไทยกับปรากฎการณ์แผ่นดินไหว
            แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดจาก รอยเลื่อนมีพลัง (active faultแนวรอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่เคลื่อนที่ได้ ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่อยู่บริเวณภาคเหนือและด้านตะวันตกของประเทศ และมักจะมีรอบของการเกิดที่เรียกว่า คาบอุบัติซ้ำ หมายถึง ระยะครบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นแล้วกลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก อาจเป็นเวลาร้อยปี พันปี หรือ น้อยกว่านั้น จากการศึกษารอยเลื่อนมีพลังจะทำให้ทราบถึงศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่มักจะปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ตามรอยเลื่อน



         1. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ101 กิโลเมตร

          2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร    

          3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร

          4. รอยเลื่อนเมย วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร          

          5. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร       

          6. รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร

          7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร

          8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่อำเภอสันติสุข อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง ของจังหวัดน่านในแนวเหนือ-ใต้  ด้วยความยาวประมาณ  130 กิโลเมตร 

          9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ  150 กิโลเมตร

          10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร

          11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร

          12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร

          13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา  มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร   

          14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร



ภูเขาไฟ [volcano]
        เราสามารถพบเห็นภูเขาไฟในทุกภูมิภาคของโลก ในประเทศไทยก็ยังมีร่องรอยของภูเขาไฟที่ดับแล้วอยู่หลายบริเวณกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ ภูเขาไฟมีทั้งที่ดับแล้วและที่ยังมีพลังอยู่  ภูเขาไฟที่ดับแล้วอาจเกิดมานานแล้ว และวัตถุที่พ่นออกมาจะแข็งตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟบนพื้นผิวดลก ส่วนภูเขาไฟมีพลังเป็นภูเขาไฟที่เคยระเบิดขึ้นอดีต และปัจจุบันยังแสดงลักษณะก๊าซ ไอร้อนจนถึงการระเบิดเป็นครั้งคราว และมีศักยภาพที่จะระเบิดในอนาคต



แนวภูเขาไฟ
    ภูเขาไฟบนโลกนี้ไม่ได้เกิดกระจัดกระจายทั่วไป แต่จะมีอยู่เฉพาะที่ เฉพาะเขตเท่านั้น ส่วนมากจะอยู่ติดทะเล เป็นหมู่เกาะ
    ภูเขาไฟส่วนใหญ่ในโลกนี้เกิดขึ้นในบริเวณที่แผ่นธรณีมาชนกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรอยๆมหาสมุทร ที่เรียกกันว่า “วงแหวนแห่งไฟ” ซึ่งแผ่นธรณีมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาในลักษณะรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งมุด หรือ แยกออกจากกัน จึงเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
การระเบิดของภูเขาไฟ (volcanic eruption)
      เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ของเปลือกโลก การระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากการปะทุของแมกมา แก๊ส และเถ้าจากใต้เปลือกโลก เมื่อเกิดการระเบิด แมกมา เศษหิน ฝุ่นละออง และเถ้าถ่านของภูเขาไฟจะพ่นออกมาทางปล่องของภูเขาไฟ หรือออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ หรือจากรอยแตกแยกของภูเขาไฟ

       แมกมาที่ขึ้นมาสู่ผิวโลกเรียกว่า ลาวา ลาวาที่ออกมาสู่พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิสูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส ลาวาเป็นของเหลวหนืด จึงไหลไปตามความลาดเอียงของพื้นที่ ในขณะเดียวกันถ้าลาวาที่ออกมานั้นมีไอน้ำและแก๊สเป็นองค์ประกอบ แก๊สที่ออกมากับลาวาจะล่องลอยออกไปเป็นฟองอากาศแทรกตัวอยู่ในเนื้อลาวา เมื่อลาวาเย็นลงจะแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีรูอากาศเป็นช่องอยู่ภายในเรียกว่า หินบะซอลต์ ถ้าลาวาไหลเป็นปริมาณมากและหนา ผิวหน้าเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วในขณะที่ด้านล่างยังร้อนอยู่ จะเกิดแรงดึงบนผิว ทำให้แตกออกเป็นแท่งจากบนไปล่าง เรียกว่า หินแท่งบะซอลต์ หรือเสาหินบะซอลต์ ความรุนแรงของการระเบิดภูเขาไฟส่วนมากมีผลมาจากความหนืดของแมกมา
ผลของภูเขาไฟระเบิดที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ
     หลังการระเบิดของภูเขาไฟ ลักษณะรูปร่างของพื้นที่ภูเขาไฟจะเปลี่ยนไป ซึ่งจะแตกต่างกับบริเวณอื่น เช่นที่ราบสูงบะซอลต์ ภูมิประเทศอีกลักษณะหนึ่งเกิดจากการทำลาย การทรุดตัว และการกัดเซาะผุพังของภูเขาไฟที่ให้พื้นที่ภูเขาไฟหายไป หรือภูเขาไฟรูปร่างเปลี่ยนไป บางครั้งพบว่าปล่องภูเขาไฟจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
     ภูมิลักษณ์ของภูเขาไฟ
-                   ที่ราบสูงบะซอลต์ เกิดจากลาวาแผ่เป็นบริเวณกว้าง ทับถมกันหลายชั้นกลายเป็นที่ราบและเนินเขา
-                   ภูเขาไฟรูปโล่ เกิดจากลาวาของหินบะซอลต์ระเบิดออกมาแบบมีท่อปล่องภูเขาไฟเล็กๆบนยอดจะจมลงไป
-                   ภูเขาไฟรูปกรวย เป็นรูปแบบที่สวยงามที่สุด เกิดจากการทับถมสลับกันระหว่างการไหลของลาวา กับชิ้นส่วนภูเขาไฟ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ

ภูเขาไฟในประเทศไทย

       ประเทศไทยเคยมีมีการระเบิดของภูเขาไฟมาก่อน โดยมีหลักฐานจากหินภูเขาไฟ การระเบิดช่วงสุดท้าย คาดว่าเป็นการระเเบิดแล้วเย็นตัวให้หินบะซอลต์อายุ1.8ล้านปี-10000ปี ภูเขาไฟในประเทศไทยเป็นผู้เขาไฟไม่มีพลังและที่ตั้งของประเทศไทยนั้นอยู่นอกเขตการมุดตัวของธรณีภาคภูเขาไฟที่สำรวจพบในประเทศไทยจะมีรูปร่างไม่ชัดเจน ที่มีรูปร่างชัดเจนมากที่สุด(มองเห็นเพียงด้วยเดียว) เช่น ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง เป็นต้น

โทษและประโยชน์ของภูเขาไฟ
โทษของภูเขาไฟ
เมื่อภูเขาไฟระเบิด จะส่งผลกระทบ ดังนี้
1.เกิดมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
2.การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
3.ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย
4.สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

ประโชยน์ของภูเขาไฟ
ถึงแม้ว่าภูเขาไฟจะสร้างความเสียหายมากและเป็นบริเวณกว้าง ภูเขาไฟก็ยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วย เช่น
1. ดินบริเวณรอบภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
2. แร่ธาตุต่างๆที่พ่นออกมาจากภูเขาไฟจะกระจายบริเวณรอบๆภูเขาไฟทำให้เหมาะแก่การทำเหมืองแร่
3.ทำให้เกิดเป็นเกาะ จึงเป็นการเพิ่มเนื้อที่ส่วนที่เป็นพื้นดิน และนอกจากนี้ยังทำให้แผ่นดินสูงขึ้นด้วย


              หินภูเขาไฟ
   โดยกำเนิดแล้ว เป็นหินกลุ่มที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหลอมละลายที่เรียกว่า แมกมา (magma) ซึ่งแทรกขึ้นมาใกล้ผิวโลกหรือบนผิวโลกมี 2 พวกด้วยกัน คือ
          1. พวกที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวา
          2. พวกที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ
          พวกที่หนึ่งเกิดเป็นลาวาไหลออกมาสู่ผิวโลกแล้วเย็นตัว และแข็งตัวเมื่อกระทบกับอากาศ หรือเย็นตัวในส่วนตื้นๆ ของเปลือกโลก ส่วนพวกที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งทำให้หินหลอมละลายบางส่วนถูกพ่นออกมาจากภายในปล่องภูเขาไฟ รวมกับละอองเถ้าและเศษหินแข็ง ซึ่งเป็นส่วนของปล่องภูเขาไฟฟุ้งกระจัดกระจายปะปนกันขึ้นไปในบรรยากาศ ส่วนที่เป็นของเหลวอยู่จะเย็นตัวอย่างทันทีทันใด ชิ้นส่วนทั้งหมดจะตกตัวย้อนกลับลงสู่พื้นผิวโลก บางส่วนอาจตกลงสู่แหล่งน้า หินภูเขาไฟพวกที่เกิดจากการระเบิดนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ ประกอบด้วย เศษหินภูเขาไฟ เถ้าภูเขาไฟ และมีลักษณะการวางตัวเป็นชั้น




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น